วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บทความที่ 2 ปลาสอด

ปลาสอด






ชื่อวิทยาศาสตร์  Xiphophorus helleri  Heckel, 1845
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ Swordtail


          ปลาสอดเป็นปลาที่อยู่ในครอบครัว (Family) Poeciliidae   และครอบครัวย่อย (Subfamily)

poeciliinae  มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Xiphophorus helleri   Heckel, 1845  ซึ่งชื่อชนิดของ

ปลาสอด “helleri” ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์  Viennese Heller   ปลาสอดมีชื่อสามัญ

ภาษาอังกฤษว่า Swordtail   ซึ่งมาจากลักษณะครีบหางตอนล่างของปลาตัวผู้  ที่มีลักษณะยื่นยาวออกไป

คล้ายดาบ    ซึ่งชื่อนี้ก็ได้นำมาใช้เป็นชื่อสามัญของไทยด้วย 

               
    ปลาสอดมีแหล่งกำเนิดบริเวณ ริโอนอตลา ในเม็กซิโกถึงเบลิซ และฮอนดูรัส  กินพืชน้ำ แพลงก์ตอนสัตว์
และตัวอ่อนแมลงเป็นอาหาร  ความยาวลำตัวโดยเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร  เพศผู้มีก้านครีบหางตอนล่างยาวเลย
ขอบหาง  มีลักษณะเรียวแหลม   คล้ายดาบ   ปลาสอดเพศผู้จะมีความยาวประมาณ 14 เซนติเมตร    และช่วง
หางดาบอาจมีความยาว 4-8 เซนติเมตร ส่วนปลาเพศเมียมีความยาวประมาณ 16 เซนติเมตร  ความยาวลำตัว
จะมีความแปรปรวนมากในแต่ละตัว ปลาสอดบางตัวอาจมีความยาวแค่ 5-6 เซนติเมตร บวกความยาวของดาบ
ประมาณ  3  เซนติเมตร บางตัวยาว 8-10  เซนติเมตร  ปลาสอดจะมีลำตัวยาวเรียว และหัวแหลม 

          ปลาสอดชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีพืชน้ำปกคลุมเบาบางจนถึงหนาแน่น  อุณหภูมิน้ำประมาณ 24-28 

องศาเซลเซียส เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อย ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำใด
แหล่งน้ำหนึ่งโดยเฉพาะ  ดังนั้นจึงพบปลาชนิดนี้ทั่วไปในแหล่งน้ำที่มีน้ำไหลแรงตามแม่น้ำ  บ่อ ทะเลสาบ และ
บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง      สาเหตุที่ปลาสอดสามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่แตกต่างกัน ทำให้มีลวดลาย   และมีสี
หลากหลายมากในธรรมชาติ   โดยทั่วไปปลาสอดสีเขียวจะเป็นที่รู้ธชาติ  จะมีแถบตรงกลางสี

แดงเข้ม  หรือสีน้ำตาลพาดตามลำตัว  และบางทีอาจพบแถบสีเพิ่มอีก 4  แถบ  อยู่ด้านบน 2 แถบ  และด้านล่าง
แถบกลางลำตัวอีก 2 แถบ     ช่วงท้องจะมีสีขาว และที่ครีบหละมีจุดแดง      ปลาสอดเพศผู้ที่ขอบครีบหาง
ตอนล่างมีลักษณะคล้ายดาบจะมีสีเหลืองและดำ  บางครั้งอาจพบจุดสีดำบนลำตัว    ปลาสอดเป็นปลาที่รักสงบ
สามารถอยู่รวมกับปลาชนิดอื่นได้

          ปลาสอดเป็นปลาที่ต้องดูแล  และเอาใจใส่เหมือนกับปลาออกลูกเป็นตัวชนิดอื่น และยังสามารถเลี้ยงรวม
กับปลาชนิดอื่นได้ด้วย ปลาสอด ยังเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย  มีความอดทน และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ไม่
จำเป็นต้องติดตั้งท่อออกซิเจนในบ่อ หรือสถานที่เลี้ยงมันก็อาศัยอยู่ได้ ที่สำคัญจัดเป็นปลาสวยงามที่เพาะขยาย
พันธุ์ได้ง่ายมีความหลากหลายทางด้านสีสัน  และปลาสอดเป็นปลาสวยงามที่น่าสนใจอีกชนิดหนึ่ง   เหมาะที่จะ
นำมาฝึกเลี้ยง   สำหรับผู้ที่เริ่มเลี้ยงปลา และไม่ค่อยมีเวลามากนัก เพราะปลาสอดเป็นปลาเลี้ยงง่ายราคาซื้อขาย
ไม่แพงนัก มีความทนทานดี    การเลี้ยงปลาสอดควรใส่พืชน้ำลงไปด้วย จะทำให้ดูแล้วสวยงามแล้ว ยังเป็นที่
หลบซ่อนของลูกปลาตัวเล็ก ๆ ไม่ให้ถูกปลาใหญ่กินอีกด้วย

ข้อมูลอ้างอิงจาก

http://www.fisheries.go.th/if-phayao/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=106&Itemid=204

บทความที่ 1 ปลาหางนกยูง


การเลี้ยงปลาหางนกยูง







เลี้ยงปลาหางนกยูงให้สีสวย (กรมประมง)
ปลาหางนกยูงจัดเป็นปลาสวยงามประเภทหนึ่งที่มีผู้นิยม เลี้ยงไว้ดูเล่น พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มีประมาณ สายพันธุ์ ได้แก่ Cobra (คอบร้า) Tuxedo (ทักซิโด้) Mosaic (โมเสค) Grass (กร๊าซ) และ Sword tall ( นกยูงหางดาบ) พันธุ์เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงให้มีลักษณะสวยงาม แข็งแรงลำตัวใหญ่สมส่วน ไม่คดงอ มีการทรงตัวปกติ ครีบหางใหญ่ไม่หักพับขณะว่าย และที่สำคัญมีสีสันลวดลายตรงตามสายพันธุ์ สำหรับวิธีเลี้ยงปลาหางนกยูงให้มีสีสันสวยงาม เพื่อให้ได้ราคาดี มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
เลี้ยงปลาหางนกยูงแบบมืออาชีพ
ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง กินสัตว์น้ำตัวเล็กเป็นอาหาร รวมทั้งลูกปลาตัวเล็กๆ ที่เกิดใหม่ด้วย เมื่อปลามีอายุประมาณ เดือนก็สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องแยกปลาเพศผู้กับเพศเมียไว้คน ละบ่อ เพื่อป้องกันการผสมพันธุ์กันเอง การแยกเพศทำได้เมื่อลูกปลามีอายุประมาณ เดือนขึ้นไป วิธีเลี้ยงปลาหางนกยูง มีขั้นตอน ดังนี้
เตรียมบ่อ ที่ใช้เลี้ยงตามต้องการ ทำความสะอาด ผึ่งแดดให้แห้ง หลังจากนั้นเปิดน้ำใส่แช่ทิ้งไว้ วัน ก่อนปล่อยปลาลงเลี้ยง
น้ำที่ใช้ใส่บ่อเลี้ยงปลา ต้องเป็นน้ำสะอาด
น้ำประปา ต้องไม่มีคลอรีนเจือปนอยู่ โดยพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ สัปดาห์
น้ำบาดาล ทำเช่นเดียวกับน้ำประปา คือพักน้ำทิ้งไว้ สัปดาห์ และเติมออกซิเจนตลอดเพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจน ในน้ำ
ดูค่าความเป็นกรด ด่าง (pH) โดยใช้กระดาษทดสอบค่า pH จุ่มในน้ำ แล้วนำสีที่ได้มาเทียบค่า ให้มีค่าประมาณ 6.5 – 7.5 (กระดาษทดสอบหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงปลาทั่ วไป)
อาหารของปลาหางนกยูง
สำหรับอาหาร ปลาหางนกยูงจะกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่าอาหารสดจำพวก ลูกน้ำ ไรแดง ไรสีน้ำตาล ไรทะเล ที่มีชีวิต หรืออาหารปลาสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาด อาหารควรให้ เวลา คือ ตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าควรเป็นอาหารสดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว โดยนำไปแช่ด่างทับทิม ขั้นตอนคือนำด่างทับทิมประมาณหยิบมือ ละลายน้ำ นำไรแดง หรืออาหารสดอื่นๆ ลงแช่ทิ้งไว้ประมาณ 10-20 วินาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง ตอนเย็นอาจเปลี่ยนไปให้อาหารสำเร็จรูปแทนได้ เมื่อให้อาหารปลาเสร็จแล้ว ควรดูว่าปลากินหมดหรือไม่ ให้น้อยไปหรือไม่ สังเกตได้จากปลากินหมดเร็วมาก ก็ให้เพิ่มอีก แต่หากให้อาหารเยอะไปมีเศษอาหารเหลือ ให้ตักทิ้ง อาหารสดที่กล่าวมา สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายปลาสวยงามทั่วไป หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร สิ่งสำคัญ ควรให้อาหารสดจำพวกไรแดง ไรทะเล ดีกว่าให้อาหารสำเร็จรูป เพราะปลาจะได้มีสีสันที่สวยงาม
การทำความสะอาด
ในแต่ละสัปดาห์ ควรดูดน้ำก้นบ่อเอาขยะออก และให้เหลือน้ำเก่าประมาณครึ่งบ่อ จากนั้นจึงเติมน้ำใหม่ลงไป สาเหตุที่ไม่เทออกทั้งหมด เพื่อให้ปลาปรับตัวได้ และในสัปดาห์ที่ ของเดือน ให้ล้างทำความสะอาดบ่อและเปลี่ยนน้ำใหม่
ระวัง! ภัยจากโรคร้าย
โรคจุดขาว จะพบตามผิวหนังด้านนอก เนื่องจากปลาสร้างเซลล์ผิวหนังหุ้มสัตว์เซลล์เดียวที ่ชื่ออิ๊ค เพื่อลดความระคายเคือง โรคนี้ไม่มีวิธีรักษา แต่สามารถทำลายตัวอิ๊คในน้ำ โดยใส่ฟอร์มาลิน 25 –30 ซีซี ผสมกับมาลาไค้ท์กรีน 0.1 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด ทำซ้ำ 3–4 วัน เป็นเวลา สัปดาห์
โรคจากตัวปลิงใส จะพบตามเหงือกและผิวหนัง ซึ่งเกิดจากปรสิตตัวแบน ชนิด คือ Gyrodactylus และ Dctylogyrus การรักษาใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้ตลอด
โรคจากหนอนสมอ การ รักษาใช้ดิพเทอร์เรกซ์เข้มข้น 0.25 – 0.50 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ทิ้งไว้ตลอด และทำซ้ำ 3–4 ครั้ง โดยห่างกัน สัปดาห์ วิธีนี้สามารถรักษาโรคจากตัวปลิงใสได้ด้วย
โรคจากแบคทีเรีย อาการสังเกตจากส่วนครีบและหางกร่อน ท้องบวมน้ำ เกล็ดพอง การรักษาต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น ไนโตรฟูราโซน 1–2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร หรือใช้เกลือแกงเล็กน้อยละลายน้ำ แช่นาน 2–3 วัน
เมื่อพบปลาที่เป็นโรคควรแยกออกจากบ่อ แล้วทำการรักษาตามอาการที่พบ จากนั้นล้างทำความสะอาดบ่อทันที เพื่อไม่ให้ปลาในบ่อทั้งหมดติดโรคไปด้วย สารเคมีที่ใช้ในการรักษาโรค หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์การเลี้ยงปลาสวยงามทั่วไป หรือที่ตลาดนัดสวนจตุจักร


                                       ข้อมูลอ้างอิงจาก

http://www.fisheries.go.th/fpo-phichit/newproduck/fishyung1.htm